ข้อมูลทั่วไป

 

ข้อมูลพื้นฐาน

รหัสโรงเรียน 10 หลัก : 1040051176
รหัส Smis 8 หลัก : 40022012
รหัส Obec 6 หลัก : 051176
เลขกำกับภาษี : 0994000799535
อีเมล์ :  thasalaprachanusorn@gmail.com
เว็บไซต์ : www.tpnschool.ac.th

ชื่อสถานศึกษา(ไทย) : ท่าศาลาประชานุสรณ์
ชื่อสถานศึกษา(อังกฤษ) : Thasalaprachanusorn
ที่อยู่ : 229 หมู่ที่ 5 ถนนทางหลวงชนบท ขก.4008 บ้านดงเค็ง ตำบลท่าศาลา อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น 40160
โทรศัพท์ : 043455104
ระดับที่เปิดสอน : มัธยมศึกษาตอนต้น - มัธยมศึกษาตอนปลาย
วัน-เดือน-ปี ก่อตั้ง :  8 พฤษภาคม 2540

สหวิทยาเขต :  อุดมคงคาคีรี
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : อบต.ท่าศาลา
ระยะทางจากโรงเรียน ถึง เขตพื้นที่การศึกษา: 54 กม.
ระยะทางจากโรงเรียน ถึง อำเภอ: 26 กม.
     โรงเรียนท่าศาลาประชานุสรณ์ มีพื้นที่ทั้งหมด 40 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ  
               ทิศเหนือ        ติดทางสาธารณะประโยชน์
               ทิศตะวันออก     ติดทางสาธารณะประโยชน์
               ทิศตะวันตก      ติดถนน ร.พ.ช.
               ทิศใต้          ติดที่ดินเอกชน
สีประจำโรงเรียน     เทา   -   แดง
                 สีแดงหมายถึงสติปัญญาความรอบรู้ความเฉลียวฉลาด
                 สีเทาหมายถึงความกล้าหาญโดดเด่นเข้มแข็ง
อักษรย่อประจำโรงเรียน   ท.ป.น. (TPN)
ปรัชญา    การศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิต
คติพจน์    สุสสฺสา   สุตวฒฺนี   การใฝ่ใจศึกษาเป็นเครื่องพัฒนาความรู้
ต้นไม้ประจำโรงเรียน    ต้นอินทนิน
ตราสัญลักษณ์

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ logo-พื้นโปร่ง128.png
เขตพื้นที่บริการ ประกอบด้วย เขตพื้นที่บริการจำนวน 1 ตำบล  คือ  ตำบลท่าศาลา มี  4 หมู่บ้าน  ได้แก่   บ้านหัวนา บ้านโนนงิ้ว บ้านดงเค็ง บ้านท่าสวรรค์ ทั้งนี้ พื้นที่หมู่บ้านใกล้เคียงที่โรงเรียนให้บริการอีก 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองไห  บ้านแจ้ง ตำบลหนองแปน  อำเภอมัญจาคีรี  จังหวัดขอนแก่น  และบ้านหัน ตำบลพระบุ  อำเภอพระยืน   จังหวัดขอนแก่น
วิสัยทัศน์(VISON)               
 
ภายในปี ๒๕๖๗ โรงเรียนท่าศาลาประชานุสรณ์ มุ่งพัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีคุณภาพครบทุกด้าน ตามมาตรฐานการศึกษา  มีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง บริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการบริหารจัดการคุณภาพแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์(RBM) ใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) มีเครือข่ายร่วมพัฒนาคุณภาพ ส่งผลให้เป็นสถานศึกษาพอเพียงอย่างแท้จริง ตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ (MISSION)
 
1. การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ,การมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนา,การทำงาน,สมรรถนะสำคัญ,ความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร,สุขนิสัย สุขกายและสุขภาพจิตที่ดี สุนทรียภาพและลักษณะนิสัย ด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และ กิจกรรม/ผลงานดีเด่นของผู้เรียน
2. การพัฒนาคุณภาพครู ผู้บริหาร และบุคลากร ด้านความรู้ความสามารถ ด้านทักษะวิชาชีพและด้านคุณธรรม
3. การพัฒนาคุณภาพการบริหารงานของโรงเรียนทั้ง ๔ ฝ่ายให้มีคุณภาพ ได้แก่ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายกิจการนักเรียน ฝ่ายบริหารงบประมาณและบุคคล ฝ่ายบริหารทั่วไป
4. การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่เข้มแข็งและมีคุณภาพ
เป้าประสงค์(OBJECTIVES)

1. นักเรียน มีความรู้ และ ทักษะ ตลอดจน มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีคุณภาพ
2. ครู มีความรู้ความสามารถและทักษะวิชาชีพ และคุณธรรม สามารถพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนร็ได้อย่างมีประสิทธภาพ
3. ผู้บริหารมีภาวะผู้นำทั้งทางวิชาการและนักปฏิบัติ รับผิดชอบในบทบาทด้านการกำหนดนโยบาย การประสานงาน ส่งเสริมขวัญและกำลังใจ นิเทศกำกับติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน และ ร่วมในการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด
4. โรงเรียนเป็นสถานศึกษาพอเพียง และ มีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง เป็นที่ยอมรับจากชุมชน
ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพครู ผู้บริหาร และบุคลากร
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพการบริหารงานของโรงเรียนทั้ง ๔ ฝ่าย   ฝ่ายวิชาการ / ฝ่ายบริหารงบประมาณและบุคคล/ฝ่ายกิจการนักเรียน/ฝ่ายบริหารทั่วป
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น(SBMLD)
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

7 กิจกรรม ที่จะทำให้ยุทธศาสตร์บรรลุเป้าหมาย

1. ภาวะผู้นำ ( L : Leadership) หมายถึง การที่ผู้นำในโรงเรียนระดับต่างต่างๆ เป็นได้ทั้งนักวิชาการและนักปฏิบัติ และรับผิดชอบในบทบาทด้านการกำหนดนโยบาย การประสานงาน ขวัญกำลังใจ นิเทศติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน และ ร่วมปฏิบัติงานออย่างใกล้ชิด
2. การมือปฏิบัติจริง( A : actual  Practice ) 
3. การบริหารแบบมีส่วนร่วม (P : Participation)
4. การสอนแนะ ( C : Coaching )
5. การกำกับติดตามดูแล ( O : oversee)
6. การประเมินผล ( A : assessment )
7. การสร้างขวัญกำลังใจ ( M : morale )
กลยุทธ์ระดับโครงการ(กิจกรรม)

1. กิจกรรม ๘ กลุ่มสาระ 
2. ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. ส่งเสริมความเป็นเลิศด้านต่างๆ
4. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
5. กิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อ
6. กิจกรรมประชุมเครือข่ายผู้ปกครอง
7. กิจกรรมอบรมพัฒนาครูและศึกษาดูงาน
8. กิจกรรมนิเทศภายใน
9. กิจกรรมกีฬาต้านยาเสพติด/กีฬาภายใน /ภายนอก
10. กิจกรรมเข้าค่ายพักแรมลูกเสือ
11. กิจกรรมปฐมนิเทศและปัจฉิมนิเทศนักเรียน ม.๓ ม.๖
12. กิจกรรมเครือข่ายคุณภาพการจัดการสถานศึกษาขนาดเล็ก
13. กิจกรรมปรับปรุงและพัฒนาอาคารสถานที่ สาธารณูปโภค